วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พิธีสถาปนา - มูรธาภิเษก

พิธีสถาปนา -  มูรธาภิเษก

รดสงฆ์เมืองลานนาและรีตคลองท้าวพญา
        ข้อมูลเกี่ยวกับพิธีสถาปนา มูรธาภิเษก ข้าพเจ้าพระมหาวิษณุ จารุธมโม เจ้าอาวาสวัดเจ็ดลิน ต.พระสิงห์  .เมือง  .  เชียงใหม่    ได้บูชาหนังสือประวัติครูบานนศึกษา มาจากวัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี    อำเภอเด่นชัย   จังหวัดแพร่  ๑ เล่ม หนังสือเล่มนี้ โดยพระอธิการมนตรี ธมมเมธี ( ครูบามนตรี )  เป็นผู้รวบรวมไว้
            พระอธิการมนตรี ธมมเมธี หรือครูบามนตรี ได้เล่าไว้ว่า สมุดข่อยที่ข้าพเจ้าใช้เป็นต้นฉบับในการปริวรรตเรื่องนี้ ได้ขอยืมมาจากพ่ออุ้ยเที่ยง คำยอย อยู่บ้านเลขที่ ๑๓ หมู่ที่ ๔ ตำบลไชยสถาน    อำเภอสารภี    จังหวัดเชียงใหม่   ปัจจุบันอายุ ๘๗ ปี พระอธิการมนตรี ธมมเมธี ได้รวบรวมพิธีเกี่ยวกับสถาปนา มูรธาภิเษก รดสงฆ์เมืองลานนา และรีตคลองท้าวพญา ต่อมาเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๘ ข้าพเจ้าพระมหาวิษณุ จารุธมโม ได้มาคัดลอกพิมพ์ขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพราะเป็นพิธีเกี่ยวข้องกับการสรงน้ำของพระเมกุฏสุทธิวงศ์กษัตริย์เมืองเชียงใหม่
ครูบามนตรี ได้เล่าไว้ว่า พ่ออุ้ยเที่ยง คำยอย  เป็นบุตรของพ่อหนานนวล คำยอย ต่อมาพ่อหนานนวล คำยอย ได้รับการแต่งตั้งจากท้าวแก้ว ซึ่งเป็นพี่ชายให้มียศเป็นท้าวสิทธินรา อยู่ที่บ้านเชียงแสน อ.สารภี จ. เชียงใหม่ ก่อนที่ท้าวสิทธินราจะเสียชีวิตได้มอบสมุดข่อยเล่มนี้ให้พ่ออุ้ยเที่ยง เป็นผู้เก็บรักษาไว้
            ข้างในบอกชื่อผู้เขียนและปีที่เขียนคือ พระยาปัญญาพิทธา เขียนในปี   .. ๒๓๘๘ ( .. ๑๘๔๕ ) เพื่อยกเลื่อนสมณะศักดิ์พระภิกษุหลายรูปด้วยกัน ต่อมาเมื่อปี พ.. ๒๔๓๗ ( .. ๑๘๙๔ ) พระขัตติยะ ไชยรังสี วัดนันทาราม คัดลอกต่อมาอีกทีหนึ่ง
            สมุดข่อยเล่มนี้มีเรื่องที่เขียนไว้หลายเรื่องด้วยกัน แต่ข้าพเจ้ายกเอาเฉพาะเรื่องนี้ออกมาปริวรรต เพราะเห็นว่าเป็นพิธีกรรมที่สำคัญในอดีต กษัตริย์จะขึ้นเสวยราชย์ ก็ต้องทำพิธีรดน้ำมูรธาภิเษก พระภิกษุที่ได้ยกเลื่อนสมณะศักดิ์ ก็ต้องรดน้ำมูรธาภิเษกด้วย ต้นฉบับของพิธีกรรม และอุปกรณ์ในการทำน้ำมูรธาภิเษกมีน้อย และกำลังจะเลือนสูญไปจากความทรงจำของคนทั่วไป แม้แต่คนที่มีอายุ ๗๐ -๘๐ ปี ก็บอกไม่ได้ว่าต้องทำอย่างไร และมีอุปกรณ์อะไรบ้าง
            น้ำมูรธาภิเษก หมายถึง น้ำศักดิ์สิทธิ์ การทำราชาภิเษกนั้นต้องทำพิธีสรงน้ำมูรธาภิเษก เสียก่อน ราชาภิเษก หมายถึง การรับแต่งตั้งเป็นพระเจ้าแผ่นดิน โดยการรดน้ำ คือการรดน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ ลงเหนือศีรษะของผู้รับการอภิเษกนั้นๆ การสรงน้ำมูรธาภิเษก เป็นราชประเพณีสืบมาแต่โบราณกาล กษัตริย์ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยการสรงน้ำมูรธาภิเษกถือว่าเป็นกษัตริย์ที่สมบูรณ์ เช่น ในคำรำพึงของพญามังรายที่ปรากฏในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ว่า } เชื้อเขานี้ติดปลายเจ้าลาวครอบลาวช้าง บ่ได้น้ำมูรธาภิเษกหดหัวสักคน เท่าปู่กูเจ้าพญาลาวเก๊าอันเป็นน้องของเจ้าลาวครอบลาวช้างนั้นคนเดียวได้น้ำมูรธาภิเษกเป็นพญาปรัมปรา …. เขาฝูงเป็นพญาอยู่จิ่มใกล้กู บ่ได้น้ำมูรธาภิเษกอย่างกูสักคน พ้อยจามานะต่อกูฉันนี้ ควรกูไปรบเอาเมืองเขาทั้งหลายฝูงนี้ ~ ดังนั้นพิธีการสรงน้ำมูรธาภิเษก จึงเป็นพิธีการที่สำคัญของล้านนาในอดีต
            นายฤทธานุภาพ เคยอธิบายไว้ดังต่อไปนี้ ในพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี ๒๔๙๓  ก็มีพิธีการสรงน้ำมูรธาภิเษกด้วยน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อบรมราชาภิเษกครั้งนั้น เป็นน้ำที่เจือด้วนน้ำในปัญจมหานทีในมัธยมประเทศ    คือน้ำในแม่น้ำคงคา ยมนา อจิรวดี สรภู มหิ  และน้ำในปัญจสุทธคงคา คือแม่น้ำสำคัญ ๕ สาย ในราชอาณาจักรไทย ได้แก่ แม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำราชบุรี นอกนั้นยังตักน้ำในสระ ๔ สระ ในจังหวัดสุพรรณบุรี คือ สระเกศ สระแก้ว สระคา และสระยมนา ซึ่งล้วนเคยเป็นน้ำสรงมูรธาภิเษกสมเด็จกษัตริยาธิราชมาแต่โบราณกาลทั้งสิ้น
            ในระหว่างการเตรียมงานก่อนถึงวันราชพิธี  ทางราชการได้กำหนดตั้งพิธีการทำน้ำอภิเษกจากพุทธเจดีย์สถานสำคัญทั่วประเทศในจังหวัดต่างๆ ถึง ๑๘ แห่ง คือ
.จังหวัดสระบุรี                         ตั้งที่พระพุทธบาท
๒.จังหวัดพิษณุโลก                     ตั้งที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
๓.จังหวัดสุโขทัย                         ตั้งที่วัดพระมหาธาตุ
๔.จังหวัดลำพูน                          ตั้งที่พระธาตุหริภุญชัย
๕.จังหวัดนครพนม                      ตั้งที่พระธาตุพนม
๖.จังหวัดน่าน                             ตั้งที่พระธาตุแช่แห้ง
๗.จังหวัดร้อยเอ็ด                       ตั้งที่บึงพระลานชัย
๘.จังหวัดเพชรบุรี                       ตั้งที่วัดมหาธาตุ
๙.จังหวัดชัยนาท                        ตั้งที่วัดบรมธาตุ
๑๐.จังหวัดฉะเชิงเทรา                 ตั้งที่วัดโสธร
๑๑.จังหวัดนครราชสีมา               ตั้งที่วัดพระนารายณ์มหาราช
๑๒.จังหวัดอุบลราชธานี               ตั้งที่วัดศรีทอง
๑๓.จังหวัดจันทบุรี                      ตั้งที่วัดพลับ    
๑๔.จังหวัดสุราชธานี                   ตั้งที่วัดมหาธาตุ อ.ไชยา  
๑๕.จังหวัดปัตตานี                      ตั้งที่วัดตานีนสโมสร
๑๖.จังหวัดภูเก็ต                         ตั้งที่วัดพระทอง
๑๗.จังหวัดนครปฐม                    ตั้งที่พระปฐมเจดีย์
๑๘.จังหวัดนครศรีธรรมราช         ที่ตั้งวัดพระมหาธาตุ
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เมื่อทรงขึ้นเสวยราชย์เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๓ / A.D. ๑๙๕๐ ก็มีพิธีสรงน้ำมูรธาภิเษก
            พิธีตั้งน้ำมูรธาภิเษกครั้งนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดให้ราชบุรุษไปพลีกรรมตักน้ำที่เป็นสิริมงคล ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัดนั้นๆ บรรจุภาชนะแล้วน้ำมาเข้าพิธี และจะต้องนำส่งสำนักพระราชวังให้ทันก่อนรับพระราชพิธี
            พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นพิธีใหญ่ในการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์ แต่รายละเอียดเกี่ยวกับพระราชพิธีนั้นอาจแตกต่างกันไปบ้าง เช่น สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าขึ้นครองราชสมบัติใน พ.. ๒๓๒๕  ที่เรียกว่าปราบดาภิเษก การพระราชพิธียังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากขาดตำหรับตำราอย่างเป็นพิธีการ
พระเจ้ากาวิโลรส เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (พ.ศ.๒๓๙๗-๒๔๑๓) ก็เคยให้คนไปเอาน้ำสี่สระจากสุพรรณบุรี คือสระแก้ว สระคา สระยมนา และสระเกษนำมาประกอบในพิธีสรงน้ำมูรธาภิเษกให้ตัวท่านเองเพราะท่านยังถือว่าท่านเป็นกษัตริย์พระองค์หนึ่งของล้านนา โดยทางสยามถือว่าเป็นการไปขโมยน้ำศักดิ์สิทธิ์ จึงเป็นข้อหนึ่งในการถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏ
             ส่วนพิธีสรงน้ำมูรธาภิเษกเมื่อกษัตริย์ขึ้นเสวยราชย์ในล้านนานั้น ยังไม่พบตำราที่กล่าวถึงโดยตรง แต่มีตำราพิธีสรงน้ำมูรธาภิเษกยกเลื่อนสมณศักดิ์พระสงฆ์ขึ้นเป็นสังฆราชา  ในตำรานั้นกล่าวไว้ว่าเป็นตำราที่ใช้กับพระสงฆ์และแก่พระเจ้าแผ่นดินเมื่อขึ้นเสวยราชย์ด้วย  พิธีสรงน้ำมูรธาภิเษกแก่พระสงฆ์  และกษัตริย์ถ้าจะต่างกันคงจะต่างกันตรงสถานที่ประกอบพิธีเท่านั้นเอง  พระสงฆ์ประกอบพิธีในวิหาร  ถ้าเป็นกษัตริย์กษัตริย์น่าจะประกอบพิธีในคุ้มหรือโรงคำ  หรือข่วงสนาม  และคงจะตั้งปรำพิธีและสร้างหอสรง ณ ที่แห่งนั้น
พิธีการรดน้ำมูรธาภิเษกเลื่อนสมณะศักดิ์พระภิกษุในล้านนา
            หน้าที่ . ทีนี้จักกล่าววิธีอุปเทสยังมหาเถร สวามี สังฆราช สมเด็จราชครู ฉันนี้ หื้อพิจารณาตามวิธีอันนี้ไปภายหน้าเถิด เมื่อจักยกยอนั้นคัน ( ครั้น ) หดหล่อน้ำมูรธาภิเษกยังเถรเจ้า ยังหอสรงแล้ว พระสังฆเจ้าจูงแขนทั้งสองเบื้อง ( สองข้าง ) ขึ้นไปในพระหาร ( พระวิหาร ) นั่งเหนืออาสนะส่อง ( ตรง ) หน้าพระเจ้า หว่าย ( หัน ) หน้าสู่หน ( ทิศ ) วันออก แล้วหื้ออาจารย์ ( ผู้ประกอบพิธี ) หว่ายหน้าหล่อ ( ต่อ ) เถรเจ้าตนนั้นแล้วนบ ( กราบ ) ๓ ที แล้วอ่านยังการพระนามจาเติ๊กอันนี้
            โย สนนิสินโน วร โพธิมูเล มาร สเสน มหนติวิไชยโย สมโพธิ มากณจิวอนนตา ญาโณ โยโลกุตตโม ตปนนมามิ พุทธ ตปนนมามิ ธมม ตปนนมามิ สงฆงมิพุทโธ มงคลสมภูโต สมพุทโธ ทีปทุตตโม พุทธมงคลมาคมม   สพพทุกขา ปะมุญจเร ธมโม มงคลสมภูโต คมภีโร ทุสทสโส อนุตตโร ธมมมงคลมาคมม สมพภยา ปมุญจเร สงโฆ มงคลสมภูโต วร
            หน้าที่ ๒. ทกขิเณยโย สงฆมงคลมาคมม สพพโรคา ปมุญจเร
            โยโรหิตต ทาสีติเลกสินธุ มงสาธิ  ภุสีสติ เลกเม ลุตาราติ ริตต นยน อทาสิ นมามิหนตวร โลกนาถ สลล เพชญ  ตนใดเดช สมสร้างเขตบารมี ๓๐ ประการ ทีฆทานัง เคร่งคราวคาน นโม วจี ทวาร กำนานก็ยืดยาว ตราบพยากรณ์ก็พอซาว ( ยี่สิบ ) อะสงไขย    อีกแสนกัลป์    บ่พิตราได้สำรอกโลหิตออกให้ทานทัน   เอนกสิอนันตา  ยังยิ่งล้ำสิสาคร  มังสาอันเถือแถก เป็นพุ่มแจกยาจกจร     ยังยิ่ง  พระสธร ในเทือกท้อง จักรวาล พระเศรียรอุตตะมะมังคะพระจำนงค์ให้เป็นทาน ยังยิ่งกว่าประมาณพระสุเมรุราชา พระแพนกะยุคคะละอันมีพรรณะรา บรรจงเขาะขอดค๊วกตาออกให้เป็นทาน ยังยิ่งประมาณแห่งดาวดวงเวหาเวียนอันเพริดพราย นานาที่กฏหมาย อันนอกนั้นมีสังขะยาจาอันยากเยื้อน พระทำเนืองสงสารมาเสวยทุกข์อันนานา มีดอกอาจจักตรีตรา จิ่งลุกใดแดดำรัส สรรเพชญตรัสอำรุง ไขบันทูลชุลี ใส่อภิวาทนมัสการ
            โอกาสะ ศักราชโบราณราช แต่งตัดมาวาทไว้ให้เป็นตรา เถิงถูกถ้วน
            หน้าที่ ๓. ระบำสรร ตามตำบลบิลปลาย แขวดกฏหมายมาเทียมทัน ศักราชไขเบิกบัวระกำหนดเนตนิทานคลอง เป็นเฉลยกัลละโครงเลย ระบิลระเฉลยบาท สองพันปลายสองร้อยหมายเหมียดตราตรอง   อีกเจ็ดตัวเผื่อปูนปอง    ติดต่อได้สืบสายไป เรียงรดกดฉนำ มะเซงจำเขตขอมไข เป็นปีเมืองไทยดับไส้ ส่อไว้ให้สรร เสร็จฤกษ์กิตติกา กำหนดตราออกเรืองเรจเพียงพุ่งขึ้น สุกรกาลปุณณะมีพิโลจาร ชีโวโสดสะคราญ ไทยเต่ายีแขวดกฏหมาย  พระจันทร์ทำเนืองบ่าย เวหาห้องร่วมราศี เมษาแห่งวิถี ลุรอดห้องมรรคาเรียง ฤกษ์กฏภรณีดวงถวงถ้วนสอง ลุลาภได้แห่งลาภาอดีตอันคล่อยคลาด พุทธศาสน์ล่วงล้ำลด สองพันกฏไว้ตราตรอง ปลายสามร้อยแปดสิบแปดพระพรรษา  ปลายหกเดือนคลาดไคลคลา พุทธศาสน์ยังเหลือหลอ จักมาพอห้าพันพระวรรษายังหลอสองพันหกร้อยตราสิบเอ็ด ฉนำเตื่อมแถมปลายหกมาสา แขวดกฏหมายวะระบ่มีปลายคำพองาม ลำดับตามวันพรุก จิ่งถ้วนถูกวิโนทะสี ศาสนายังยิ่งกว้าง ศักราชอ้างโยชน์ยาวยน โอภาสรุ่งเรืองรายให้ผลผายแผ่สุชน ให้บัง
            หน้าที่ ๔. เกิดการกุศล สุขสว่างฟ้าฝ่ายแดนดิน หกสวรรค์ชมชื่นชิน ปราโมทย์น้อม มะโนใน บพิตรไท้ธิราช พระภูวนาทปิ่นพิงค์ไชย เป็นเค้าเหง้าแห่งอะทีนริทร์ทะราช สมุหะมาดธิบดีเจ้าฝ่ายหน้าราชหอคำ เจ้ามหาสิริภูมิบัต เขมรัฐบุรีรมย์  เจ้าพิมพิสารชื่นเชยชม ปราโมทย์ด้วย ส่วนบุญญา เจ้าราชวงศา กนิษฐามีประสาทะเยือกยินดี เจ้ารัตนะเมืองแก้วและเจ้าราชบุตรจงวิมุตติจากโลกีย์ สุขสว่างเสี้ยงชื่นเชยชม0 เจ้าสุยะและเจ้าพรหม จดจงเจตน์สร้างกะตาธิการ เจ้าแสนเมืองเจ้าสุยะวงศ์ มะหิยังคะราชชื่นชมบาน เจ้าไชยลังกา เจ้าธัมมะปะโย เจ้าธัมมะกิตติ ส่องหาการจงเจตน์พ้นพาจากนิวรณ์ เจ้ายอดเหลือราชบุตรี พระภูธรอรรคราชเกิดเทียมองค์ เจ้ามหาวงศา เจ้ามหาพรหม มโนจงจิตเจตน์น้อมอภิสังขาร เจ้าหนานสุยะวงศ์ เจ้ามหาวัน มาเลงหัน ( เห็น ) ยัง เกสรปัญโญพระเถรา ตนบัวริยาดบำเพ็ญสมณะชาติพรหมจริยากรรม ปัตติปริยัติตามวินัยธรรม อันพระอนุญาตเป็นเค้าเหง้าสมณะชาติเชียงชิน สำรวมอุเบกขิณอินทรีย์รำงับดีจากอารมณ์ธุระธรรมเรียบร้อยวัตร ตามบัญญัติพระโคดม จิ่งจักบังเกิดตามการกุศล จิตเจตน์
            หน้าที่ ๕. น้อมปราโมทยา จิ่งใคร่ค้ำศาสนาพุทธศาสน์ บ่หื้อขาดประเวณี เป็นเจ้าเสวยมิ่งเมือง มียศยิ่งฟ้าฝ่ายพิงค์ไชย ปลงอาชญาพระภูบาล พัตตมารกล่าวกลอนไข ปรากฏมิ่งเมืองไทย นพราชที่อาดูร กรุโรณแก่ศาสนา และฝูงขุนทุกด่านด้าวของพันนา  ทั้งสังฆะให้พร่ำพร้อมอาราธนาน้อมนิมันตนา มาอนุโมทนาชื่นประสาท์ มโนรัฐาใสส่องต้องตื่น ทั้งขุนหมิ่นและขุนแสน นายนักการทั้งนายแคว้น และท้าวหาญมาพร่ำพร้อมพระราช สุชนหมู่นราจงเจตน์สร้างสว่างสุขสันต์สมบูรณ์ มวลเครื่องเคล้าคาน เถราภิเษกยอยกย้อมศาสนา ราชทานภิเษกสร้าง ตกแต่งห้างมากนานา เพื่อให้แล้วพระมุทธาภิเษกเอกองค์สีหลามาดขงเขตด้าวที่บุรี เป็นศรีสมบูรณ์มีพิลาศเรืองรุ่งไร      เป็นมกุฏให้แล้วสมสวัตติวิวะอัฐะทำนองไข   จักเบิกนาไว้เถราภิเษกสร้างสว่างสุธา โดยดังกฏวินาทจักกิตะนามาในสุพรรณบัฏ
บัดนี้พระยาปัญญาพิทธาแป๋ง ( แต่ง ) ในศักราช ๑๒๐๗  ( .. ๒๓๘๘ / .. ๑๘๔๕ ) ปีดับไส้ ปางเมื่อเจ้ามหาอุปราชาเป็นเค้า เจ้าจอมบ้านเมืองทั้งมวล พร้อมกันยกยอธุเจ้าวัดชัยศรีภูมิขึ้นเป็นราชครู ธุเจ้าสิทธิ วัดกิตติ วัดหอพระ ขึ้นเป็นสมเด็จ ยอ
หน้าที่ ๖. ยกครูบาวัดบุพพา ธุเจ้าคัมภีร วัดหนองควาย ขึ้นเป็นสังฆราช ยกธุเจ้ามังคะละ วัดพระสิงห์ด้านใต้ ขึ้นเป็นสามี ยกธุเจ้านันทมหาป่า วัดป่าแดง ขึ้นเป็นมหาเถร ในวัดเดือนยี่เป็ง ( ยี่เพ็ญ ) เม็งวัน ๕ ( พฤหัสบดี ) ไทยเต่ายี จิ่งได้แต้มหมายไว้หื้อแล
ซ้ำธุหลวง ( เจ้าอาวาส ) อริยะ วัดตุงคำ ต๊ง (ทุ่ง ) ลอมฮาย สืบมาแถม ( อีก ) ศักราช ๑๒๔๓ ( .. ๒๔๒๔ ๆ ค.. ๑๘๘๑ ) ปีร้วงไส้ เดือน ๖ แรม ๑๓ ค่ำ เม็งวัน ๖ ( ศุกร )  ไทยดับเหม้า   มาเถิงศักราช ๑๒๕๖ ตัว ( .. ๒๔๓๗ / .. ๑๘๙๔ )  ปีกาบสง้า เดือน ๑๑  ลง ๖ ค่ำ เม็ง (วัน) (พุธ ) ไทยรวายสัน ยามกลองแลง ธุขัตติยะ ไชยรังสี วัดนันทาราม หมายสืบมาไว้ สืบศิษย์โยมได้แทน เพื่อหื้อเป็นคุณแก่วรพระพุทธศาสนา และสถานบ้านเมืองสืบต่อไปภายหน้าบัดนี้ชะแล
            ปรม    วิสุทธ   สีลาจาราชวัททวา    สุปติปันนา ตาธิคุณปฏิ ปัณฑิโตฬาจยา สยสกตถ ปรตถหิตเต สถิร ปรักกัมมะ ปริยัติ ธร เกสาลปญโญ ปวรสมเด็จราชครู
            อันนี้ ลงใส่ในสุวรรณบัฏ การพระนามนั้นหื้อลงใส่กระดาษเท๊อะ ( เถิด )
            จักหุงน้ำมุทธาภิเษก หื้อเอาดิน ๓ จอมปลวก ๓ บวกควาย มาตำ
            หน้าที่ ๗. กับกัน ( ด้วยกัน ) ปั้นเป็นรูปราชสีห์ ๓ ตั๋ว แป๋ง ( ทำ ) ก้อนเส้า หุงใน ( อุ ) โบสถ ราชวัตรแวด ( ราชวัตรล้อม ) เอาหน่อกล้วย หน่ออ้อย กุ๊ก ก่า  มัด ( ผูก ) ติดราชวัตร ฉัตร ๔ ใบ งาช้าง ๔ อะม้อก ๔ สินาด ๔ หอก ๔ ดาบ ๔ มัด ติดราชวัตรแล้วหื้อเอาหลัว ( ฟืน ) ไม้แก้ว ไม้หนุน ( ขนุน ) ไม้เต้าไม้ตัน ( พุทธา ) และเยื่องและ ( อย่างละ ) ๗ ดุ้น หื้อเอาแว่น ( กระจก ) ส่องเอาไฟฟ้า มาดังไฟหุง
            ยาหุงน้ำมุทธาภิเษก ยะทาสันธิง ภิกขุ ตะทา สันติเก อะหัมภันเต สัมพะหุลา คะลุกา อาปัตติโย โรเจมิ กะกา กิกี ยะคะธะ มุโสกุเสโท มะมะ กุเสโท โทราโม มะมะโถราโม กุยหะโม มะมะกุยหะโม เหกุตติ มะมะเหกุตติ / บทนี้ดีดพับมูบน้ำส้มป่อยลนไว้ปากบาตร เวนลูบลง ลูบลง
            ยาหุงน้ำมุทธาภิเษก หดหล่อครูบาจารย์ และเจ้าแทนแผ่นดิน ฉันนี้หัตถีทันตา งาช้าง คิแคน จันทน์ขาว วรกันนา หูเนื้อ คือกฤษณานารี เกศา ผมขาวผมสาว คือรากแฝกหอมพะหุวาจาปากมาก  คือเกี้ยงภา สะมาคะตาพร่ำกัน คือ เค็ดเค้า สัตตะคา ๗ ยอด คือ ยอดตาล ยอดลาน ยอดพร้าว ยอดหมากผู้ ยอดหมากแม่ ( หมากเมีย ) ยอดกล้วย ยอดอ้อย เยื่อง ( ละ ) ๗ ยอด พับโพ คือ หอมบั่วนา  ๓ ว้องมือ ( รัดมือ ) มิคคาจักษุตาเนื้อ คือ สัม ๗ ฝัก ๗ ข้อ ( คือ ) สัมป่อยเทศ ผุสะติกาญจนา คือ คำผง รัตนาพิชชา คือ หน่อแก้ว ใบหนุน  ในเต้าใบตัน และอัน ( ละ ) ๗ เยื่อง ) ๗ อย่าง  )  เครื่องยาเอาใส่ในหม้อใหม่ เอาน้ำ ๗ บ่อเป็นน้ำ ( หุง ) หื้อมีขันตั้ง ( ขันครู ) เงินพัน คำร้อย ผ้าขาว  ๔ ลำ แดง ๔ ลำ เทียนเล่มบาท ๔ คู่ เล่มเฟื้อง ๘ คู่ เทียนน้อย ๑๖ คู่ สวยพลู ๑๖ หมาก ๑๖ ขด ๑๖ ก้อม หมาก ๔ หมื่น ข้าวเปลือก ๔ ต่าง ข้าวสาร ๔ แคง หม้อ ๔ ลูก พร้าว ๔ เครือ ( ๔ ทะลาย )   อ้อย ๔ แบก ครบพร้อมหื้ออาจารย์เอา ( รับ ) ศีล ๕ และนุ่งผ้าขาวแล้วยอขันร่ำไรพิษณู ยกหม้อขึ้นตั้งก้อนเส้า เอาน้ำ ๗ บ่อใส่ เอาไฟฟ้าดังด้วยหลัวไม้แก้ว ( ไม้ ) หนุน ( ไม้ ) เท้าตัน หลัวนั้นใส่หว่างก้อนเส้า หว่างใดหว่างนั้นอย่าเปลี่ยนไปมา พอเดือดหื้อตักใส่สะหลุง ( ขันน้ำ )  แก้วสะหลุงเงิน สะหลุงคำ สะหลุงนาก หื้อพอ ๑๖ แล้ว แจกไปวัดอื่นชื่อเป็นมงคล หื้อธุเจ้าสูตรก๋วมแล้วคันรุ่งเช้าเอาเข้าไว้ในหอสรง นิมนต์พระสังฆ  ๑๐๘ องค์ เข้าสูตรมหาสมัย ทั้งลำไชยทั้ง ๗ อบรมแล้ว เอาออกมาที่จักหดหล่อตามหลี้ ( กรวย ) อันก่ายไว้ แล้วนิมนต์เจ้าต๋นจักรับน้ำมูรธาภิเษกขึ้นนั่งเหนือแท่นไม้เดื่อในหอสรง
และพระสังฆเจ้าเอาน้ำมุทธาภิเษกหด ( รด ) ด้วยลินปกข้างก่ายหนอีสาน  ( ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ) รินปากสิงห์ก่ายหนบุพพ ( ทิศตะวันออก ) อุปราชาและเจ้านายลูกหลานหด รินปากม้าก่ายหนทักษิณ ( ทิศใต้ ) นางท้ายพระยาหดแล สะค่วยเศรษฐีหดรินปากมอม  ก่ายหน  ปัจฏิม ( ทิศตะวันตก ) บ่าวแก้วสาวแก้ว และประชาราษฏร์หด รินปากวัว  ก่ายหนอุดร ( ทิศเหนือ ) ท้าวพระยาเสนาอามาตร์หดแล้ว พระสังฆจูงแขนเจ้าต๋นรับน้ำมูรธาภิเษกขึ้นไปในพระวิหารนั่งอว่าย ( หัน ) หน้าภายวันออก หลังหา ( หันหลังให้ ) พระเจ้า ( พระพุทธเจ้า ) อาจารย์จิ่งนบ ๓ ที แล้วยอคุณพระเจ้า อ่านการพระนาม แล้วอ่านสุวรรณบัฏฐาเติ้ก ๓ ที แล้วหื้อดุริยะดนตรี ระฆัง กังสะดาล บัณเฑาะ  หอยสังข์ สงเสพบูชาเท๊อะเมื่ออาจารย์จักอ่านการพระนาม และสุวรรณบัฏนั้นหื้อมีแผ่นเหล็กรองหัวเข่าทั้งสอง และศอกทั้งสอง เมื่อนบลงแล้ว คันแล้ว ขันตั้งหุงน้ำมุทธาภิเษก เงินพันก็ดี ร้อยคำก็ดี ร้อยเงินขึ้น สะโตกผ้าขาว เบี้ย เงินคำ เป็นหมากพลู ข้าวตอกดอกไม้ เทียน ข้าวสาร ข้าวเปลือก สาดใหม่ หม้อใหม่ กล้วย อ้อย พร้าว ตาล อาจารย์เอาเสี้ยงเท๊อะ
หอสรง
หอสรงน้ำมูรธาภิเษกสำหรับพระภิกษุที่ได้รับการยกเลื่อนสมณศักดิ์เป็นมหาเถระ มหาสามี  ราชครูและสังฆราชา  สร้างขึ้นด้วยไม้เป็นรูป ๕ เหลี่ยม  กว้างประมาณ ๑ เมตร สูงประมาณ ๒ เมตร หลังคาเป็นรูปทรงแบบปันหยามุงด้วยแป้นเกล็ด  มีฝาไม้รอบทั้ง ๔ ด้าน   ฝาส่วนบนเจาะเป็นช่องสำหรับวางรินน้ำไว้ ๕ ช่อง คือด้านทิศเหนือ ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านตะวันออก  ด้านใต้  และด้านตะวันตก  มีประตูปิด-เปิดตรงกลางของด้านใดด้านหนึ่ง   พื้นสูงจากพื้นดินประมาณ     ๒๐   เซนติเมตร บนพื้นมีท่อนไม้เดื่อ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๔๐ เซนติเมตร สูงประมาณ ๓๐เซนติเมตร โดยตัดจากต้นเดื่อเป็นท่อนกลม
ลินน้ำ
            ลินน้ำสำหรับส่งน้ำศักดิ์สิทธิ์เข้าไปในหอสรงเจาะขุดจากต้นไม้ส่วนมากจะทำด้วยไม้สัก  กว้างประมาณ  ๒๐  เซนติเมตร ยาวประมาณตั้งแต่ ๒.๕๐  ถึง ๔ เมตร จำนวน ๕ ลิน  ปากลินแต่ละอันแกะสลักเป็นรูปหัวสัตว์อ้าปาก  คือ หัวช้าง  หัวสิงห์  หัวม้า  หัวมอม  และหัววัวอุสุภราช  ลินหัวช้างวางทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ลินหัวสิงห์วางทางทิศตะวันออก  ลินหัวม้าวางทางทิศใต้  ลินหัวมอมวางทาทิศตะวันตก และลินหัวอุสุภราชวางทางทิศเหนือ  การวางลินเอาส่วนหัวที่เป็นรูปหัวสัตว์พาดวางเข้ากับช่องฝาที่เจาะรูปไว้ส่วนหางวางพาดกับเสาค้ำยกสูงขึ้นกว่าหัวลิน  ปัจจุบันเห็นเหลืออยู่แต่รางลินเศียรนาคเท่านั้น คนในล้านนามีไว้เพื่อสรงน้ำพระพุทธรูป                                        

สุพรรณบัฏ
            ใช้ทองคำมาตีแผ่ให้เป็นแผ่นบางขนาดกว้าประมาณ    เซนติเมตร  ส่วนความยาวแล้วแต่ละข้อความที่จะจารึก  แล้วจารึกคำประกาศเกียรติคุณ  สีลาทิคุณของพระสงฆ์ที่ได้ยกเลื่อนสมณศักดิ์และรับน้ำมูรธาภิเษก  ส่วนมากจะจารึกด้วยภาษาบาลีโดยพัน  หนังสือหรือนักปราชญ์ในราชสำนัก 

โองการพระนาม
            เป็นเอกสารที่มีข้อความยาวกว่าสุพรรณบัฏ  จารึกในใบลาน หรือพาบหนังสา แต่งเป็นคำประพันธ์อย่างไพเราะ  ข้อความกล่าวถึงฤกษ์วันยาม  และวันเดือนปีประกอบพิธี  และกล่าวถึงประวัติพระสงฆ์ที่ได้รับยกเลื่อนสมณศักดิ์และกล่าวยอคุณของกษัตริย์ที่พระราชทานตำแหน่งให้  พร้อมกับกล่าวถึงผู้ที่ได้ยกเลื่อนว่าเป็นคุณความดีอย่างใดบ้าง   จึงได้เลื่อนตำแหน่งในครั้งนี้
จัดสถานที่จัดอุปกรณ์ และเครื่องปรุงน้ำศักดิ์สิทธิ์
            การปรุงน้ำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อใช้เป็นมูรธาภิเษกแก่กษัตริย์และพระสงฆ์  จะทำก่อนวันรดน้ำ ๑ วัน โดยทำการต้มปรุงน้ำศักดิ์สิทธิ์ในอุโบสถ  ซึ่งถือว่าเป็นสถานอันศักดิ์สิทธิ์มีการล้อมราชวัตรเป็นปริมณฑล  ปักด้วยฉัตร  ๔ใบ  งาช้า ๔ งา  ปืนสินาด    กระบอก  หอก ๔ ด้าม  ดาบ ๔ เถี่ยน  ของเหล่านี้ผูกติดกับราชวัตร
            ก้อนเส้าที่ทำเป็นเตาไฟหุงต้มน้ำศักดิ์สิทธิ์นั้นปั้นจากดิน    จอมปลวก  ๓ บวกควาย นำมาคลุกเคล้าให้เหนียวปั้นเป็นรูปราชสีห์    ตัว
            ฟื้นที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงจุดไฟต้มน้ำ  ใช้ไม้ดอกแก้ว(ดอกพิกุล)  ไม้ขนุน  ไม้เท้าไม้ทัน (ไม้พุทรา)  เอาอย่าง ๗ ดุ้น คือ ๗ อัน
ไฟที่จะใช้จุดนั้นไม่ใช้ไฟบ้านโดยทั่วไปเพราะถือว่าเป็นไฟที่ไม่บริสุทธิ์  จึงให้ใช้ไฟจากฟ้าโดยใช้แว่นขยายกรองเอาจากแสงอาทิตย์ผ่านลงให้ไหม้ปุยนุ่นที่เชื่อว่าเป็นเชื้อไฟที่บริสุทธิ์
ตัวยาสมุนไพรที่ใช้ต้มด้วยน้ำ ๗ บ่อ มี ดังนี้
๑.     หัตถีทันตา งาช้าง
๒.   คิแคน จันทน์ขาว
๓.    วรกันนา หูเนื้อ คือกฤษณานารี
๔.    เกศา ผมขาว ผมสาว คือรากแฝกหอม
๕.    พหุวาจา ปากมาก คือเกี๋ยงภา
๖.     สะมาคะตา พร่ำกัน คือเค็ดเค้า
๗.    สัตตะคา ๗ ยอด คือยอดไม้ ๗ อย่าง เอาอย่างละ ๗ ยอด มี
-                   ยอดตาล
-                   ยอดลาน
-                   ยอดพร้าว
-                   ยอดหมากผู้
-                   ยอดหมากเมีย
-                   ยอดกล้วย
-                   ยอดอ้อย
๘.    พับโพ คือ หอมบัวนา ๓ ว้องมือ (๓ รัดมือ)
๙.     มิคคาจักษุ คือตาเนื้อ คือ ส้มป่อยเทศ ที่มี ๗ ข้อเอา ๗ ฝัก
๑๐.ผุสะติกาญจนา คือผงทองคำ
๑๑.รัตนาพิชชา คือใบไม้ ๓ อย่าง เอาอย่างละ ๗ ใบดอกแก้ว ใบขนุน ใบเท้าใบทัน

ผู้ประกอบพิธี
ต้องเป็นผู้ที่ประกอบด้วยวัยวุฒิและคุณวุฒิมีความรอบรู้เรื่องประเพณี และพิธีกรรมเป็นอันดี เรียกกันว่าอาจารย์ ผู้ที่ประกอบพิธีรดนำมูรธาภิเษกนั้นให้นุ่งผ้าขาว ก่อนที่จะลงมือประกอบพิธีให้รับศีล ๕ ข้อเพื่อให้ร่างกายบริสุทธิ์
            ผู้ดำเนินการในการจัดพิธี ให้ตั้งขันครูแก่ผู้ที่จะเป็นอาจารย์ มี ผ้าขาว ๔ รำ ผ้าแดง ๔ รำ เทียนใหญ่คือเทียนเล่มบาท ๔ คู่ เทียนขนาดกลางเรียกว่าเทียนเล่มเฟื้อง ๘ คู่ เทียนขนาดเล็ก ๑๖ คู่ กรวยใส่ใบพลู ๑๖ กรวยหมาก ๑๖ ขด และ ๑๖ ก้อม หมากมีน้ำหนัก ๔ หมื่น ข้าวเปลือก ๔ ตาง ข้าวสาร ๔ แคง หม้อดิน ๔ ใบ มะพร้าว ๔ ทะลาย อ้อย ๔ แบก ขันโตก ๑ ใบหอยเบี้ยที่ใช้แทนเงิน เสื่อใหม่ ข้าวตอกดอกไม้ กล้วย ๑ เครือ เงิน ๑,๐๐๐ (น้ำหนัก ทองคำ ๑๐๐ น้ำหนัก)
พิธีปรุงน้ำมูรธาภิเษก
            เมื่อเตรียมทุกอย่างพร้อมแล้ว ก่อนวันที่ทำพิธี ๑ วัน ให้จัดพิธีต้มปรุงน้ำศักดิ์สิทธิ์ในอุโบสถ เริ่มด้วยถวายขันครูให้อาจารย์ อาจารย์ยกขันขึ้นแล้วกล่าวคำอัญเชิญครู จากนั้นอาจารย์ก่อไฟด้วยฟืน ๓ ชนิด แต่ละชนิดใส่ตามช่องของก้อนเส้ารูปราชสีห์ การใส่ฟืนห้ามใส่ปนช่องกันไปมา ไม้ชนิดไหนอยู่ช่องใดต้องอยู่ช่องนั้นตลอดไป แล้วนำแว่นขยายออกไปให้แสงแดดลอดผ่านลงที่นุ่นหรือดอกฝ้าย ไม่นานความร้อนจากแสงอาทิตย์ลุกไหม้ปุยนุ่น หรือดอกฝ้าย แล้วจึงนำมาเป็นเชื้อไฟจุดฟืน เมื่อไฟติดแล้วยกหม้อดินใหม่ที่ยังไม่เคยใช้ขึ้นตั้งบนก้อนเส้า เทน้ำ ๗ บ่อลงไปในหม้อ ใส่ตัวยาสมุนไพรและของมงคลทุกอย่างดังกล่าวแล้วลงไปในหม้อต้ม เมื่อน้ำเดือดจนตัวยาสมุนไพรออกสีและกลิ่นแล้ว ตักเอาน้ำออกใส่ในขันน้ำ ๑๖ ขัน คือขันทำด้วยแก้ว ๔ ขัน ขันทองคำ ๔ ขัน ขันเงิน ๔ ขัน และขันนาก ๔ ขัน แล้วจึงนำขันที่บรรจุน้ำไปตั้งไว้ในวัดที่ชื่อเป็นมงคล นิมนต์พระสงฆ์ ๑๐๘ รูป นั่งล้อมขันน้ำทั้ง ๑๖ ขันแล้วเจริญพระพุทธมนต์
            ถึงตอนเช้าในวันทำพิธีรดน้ำมูรธาภิเษก ให้ยกเอาขันน้ำ ๑๖ ขันไปตั้งไว้ในหอสรง นิมนต์พระสงฆ์จำนวน ๑๐๘ รูปล้อมหอสรง และเจริญพระพุทธมนต์ อีกครั้งหนึ่ง โดยให้สวดบท มหาสมัย และ ไชยทั้ง ๗ จากนั้นจึงให้ตามจุดตามทิศที่มีหางลินอยู่
การรดน้ำมูรธาภิเษก
            เมื่อได้เวลาที่เป็นมงคล นิมนต์พระภิกษุที่จะรับน้ำมูรธาภิเษกเข้านั่งบนแท่นไม้เดื่อในหอสรง จากนั้นพระสงฆ์เถรานุเถระเอากระบวยเงินตักเอาน้ำศักดิ์สิทธิ์หยาดลงที่หัวลินปากช้างอันวางพาดด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พระเจ้าแผ่นดิน และอุปราช ตักเอาน้ำหยาดลงบนลินปากสิงห์ที่วางพาดด้านทิศตะวันออก ท้าวพญา สะค่วยเศรษฐี พ่อค้าวานิช ตักน้ำหยาดลงบนลินปากม้าที่วางพาดอยู่ด้านทิศใต้ บ่าวแก้ว สาวแก้วและประชาราษฎร ตักน้ำหยาดลงบนลินปากมอมที่วางพาดด้านพิศตะวันตก เสนาอามาตย์ ขุนหมื่น ขุนแสน และข้าราชการ ตักน้ำหยาดลบนลินปากวัวอุสุราชที่วางพาดด้านทิศเหนือ ในระหว่างที่คนทั้งหลายหยาดน้ำลงบนลิน น้ำจะไหลเข้าไปรดตรงกลางศีรษะของผู้ที่รับน้ำมูรธาภิเษกที่นั่งกลางหอสรง เมื่อการรดน้ำเสร็จสิ้น ผู้รับน้ำจะเปลี่ยนผ้านุ่ง ผ้าจีวร แล้วพระสงฆ์ที่เป็นประธานสงฆ์เข้าไปจูงเอาพระภิกษุนั้นออกจากหอสรงขึ้นไปบนวิหาร เมื่อกราบพระแล้วหันหน้ากลับมาทางอาจารย์ผู้ประกอบพิธี หันหลังให้พระประธาน อาจารย์ใช้แผ่นเหล็กรองหัวเข่าทั้ง ๒ และศอกทั้ง ๒ ของตนแล้วกราบ ๓ ครั้ง แล้วกล่าวคำยอคุณพระพุทธเจ้า อ่านโองการพระนามที่เขียนไว้ในใบลานหรือพับสา แล้วจึงอ่านคำจารึกในสุพรรณบัฏ ๓ ครั้ง เมื่ออ่านจบแล้วนักดนตรีประโคมดนตรี ตีระฆัง กังสะดาล เป่าบัณเฑาะหอยสังข์ เป็นการสงเสพ เป็นอันเสร็จการพิธีรดน้ำมูรธาภิเษกเพียงนี้

หมายเหตุ ตั้งแต่ ปี พ.. ๒๕๔๖ - ปัจจุบัน

วัดเจ็ดลิน  ขึ้นอยู่กับวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร  

โดย   พระเทพวรสิทธาจารย์  ( ธงชัย  สุวณณสิริ )
รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่   เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร  และ
เป็นประธานฟี้นฟูวัดเจ็ดลิน
พระมหาวิษณุ  จารุธมฺโม  เจ้าอาวาสวัดเจ็ดลิน

วัดเจ็ดลิน วัดเก่าแก่

วัดเจ็ดลิน ( วัดร้าง ) กลางเมืองเชียงใหม่
                        วัดเจ็ดลิน   ถิ่นนี้   ที่เห็น
                        สวยงามเด่น  เป็นสง่า   และราศรี
                        แต่ก่อนเก้า  นานครัน  เกือบพันปี
                        เคยเป็นที่  กษัตรา  มาสรงน้ำ
                                                            กษัตริย์พระ – เมกุฏ  วิสุทธิวงศ์
                                                            เคยมาสรง       น้ำเจ็ดลิน  ถิ่นแดนนี้
                                                            มีพระประวัติ  กล่าวไว้  ในวัดมี
                                                            พระเจดีย์  ศรีสง่า  น่าชื่นชม
                        มีองค์พระ  ปฏิมา  ล้ำค่ายิ่ง
                        อีกหลายสิ่ง  ที่เห็นชัด  เป็นวัดร้าง
                        มีหนองน้ำ  กว้างใหญ่  ไหลเป็นทาง
                        อยู่ในกลาง  เมืองเชียงใหม่  เชิญไปชม
                                                            ท่านเจ้าคุณ  พระญาณ -  สมโพธิ
                                                            ท่านได้โปรด  เป็นประธาน  จัดงานนี้
                                                            เข้ารุกมูล  ปฏิบัติ  พัฒนาดี
                                                            ให้เป็นที่  งดงาม  นามเจ็ดลิน
                        ขอเชิญชวน  มวลชนชาวพุทธ  รีบรุดสร้าง
                        ให้วัดร้าง  เจ็ดลินนี้  มีราศรี
                        กลับคืนมา  เป็นวัดใหม่  ให้อีกที
                        ขอให้มี  พระสงฆ์อยู่  คู่ล้านนา
                                                            วัดจะดี  มีหลักฐาน   เพราะบ้านสร้าง
                                                            วัดจะร้าง  ทรุดโทรม  เพราะโยมหนี
                                                            วัดจะเจริญ  รุ่งเรือง  เพราะโยมดี
                                                            วัดจะพัฒ – นาดี  เพราะสามัคคีกัน


จาก. พระครูวิบูลสุวัฒนาภรณ์

อดีต เจ้าอาวาสวัดเจ็ดยอด

๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖
แต่งไว้
                       


แต่งตั้งรักษาการเจ้าอาวาสวัดเจ็ดลิน
        พระเทพวรสิทธาจารย์     ประธานฟื้นฟูวัดเจ็ดลิน    ได้มอบหมายให้   พระมหาวิษณุ  จารุธมโม มาเป็นผู้ปกครอง ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๗  สำนักงานเจ้าคณะตำบลพระสิงห์เขต ๒    โดยมี พระอธิการอุทัย  ปุญญสมภโว ปัจจุบันคือ
พระครูบุญยากรวิโรจน์ เจ้าคณะตำบลพระสิงห์เขต ๒ เจ้าอาวาส วัดพันเตา  แต่งตั้งให้ พระมหาวิษณุ  จารุธมโม    ดำรงตำแหน่ง    รักษาการเจ้าอาวาส      ต่อมา  เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๘  พระเทพวิสุทธิคุณ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่
แต่งตั้งให้พระมหาวิษณุ  จารุธมโม เป็นเจ้าอาวาส  มีหน้าที่ดูแลปกครองพระภิกษุสามเณรและศิษย์วัดต่อไป

รายนามเจ้าอาวาส ตั้งแต่รูปแรกถึงปัจจุบัน

ที่
ชื่อ
ฉายา
..
รูปที่ ๑
พระเทพวรสิทธาจารย์
สุวณฺณสิริ
๒๕๔๖ รักษาการ
รูปที่ ๒
พระมหาวิษณุ
    จารุธมฺโม
  ๒๕๔๖- ถึงปัจจุบัน


สถิติพระภิกษุ สามเณร ปี ๒๕๔๖ - ๒๕๕๑

ปี
พระภิกษุ
สามเณร
ศิษย์วัด
๒๕๔๖
๑๑
๒๕๔๗
๒๗
๒๕๔๘
            ๑๘
๒๔
๒๕๔๙
            ๑๗
๒๐
๒๕๕๐
๓๔
๒๕๕๑
            ๑๒
๒๙
๒๕๕๒
            ๑๒
๒๑
๒๕๕๔
            ๑๑
๒๑
๒๕๕๕
            ๑๑
๓๐




กิจกรรมสำคัญในวัดเจ็ดลิน
            พระเทพวรสิทธาจารย์ ประธานดำเนินการฟื้นฟูได้จัดกิจกรรม}ยถาสันตติกรรม ~ ( เข้ากรรม ) ในวันที่ ๑๑ - ๑๔   กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ โดยในวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖  ตอนเช้าจัดพิธีทำบุญตักบาตร     ถวายสังฆทานแด่พระสงฆ์เถรานุเถระ จำนวน ๑๐๘ รูป เพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่บรรพชนและพระเถรานุเถระที่ประจำอยู่ ณ วัดเจ็ดลินในอดีต   และในวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ ซึ่งกับวันมาฆบูชา ได้จัดพิธีมาฆะปุณณมีบูชา ตอนเช้ามีการทำบุญใส่บาตร ตอนเย็นมีการแสดงพระเทศนา เวียนเทียนและทำวัตรสวดมนต์เย็นเจริญเมตตาภาวนาตามลำดับ  ต่อมา วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๖ วันแม่แห่งชาติ จัดการฟังเทศน์ครั้งยิ่งใหญ่ที่เราเรียกกันว่า รถด่วนขบวนพิเศษ มีประชาชนเข้าร่วมฟังเทศน์ประมาณ ๒,๐๐๐ รูป / คน ณ ที่วัดแห่งนี้ด้วย และในวันสงกรานต์ ๑๐ - ๑๕ เมษายน ๒๕๔๖ ทางคณะกรรมการฟื้นฟูได้จัดประเพณีก่อเจดีย์ทรายใหญ่สุดเรียกว่า (  เจดีย์ทรายสุดส๊าว ) และได้จัดติดต่อกันมาทุกๆปีจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก หลังจากเสร็จงานประเพณีปี๋ใหม่เมือง ก็นำทรายมาก่อสร้างศาสนวัตถุและปรับพื้นที่วัดให้น่าอยู่ต่อไป และทุกวันพระ เวลา ๑๘.๓๐ น. เป็นต้นไป ทางวัดจัดให้มีการเทศน์ เวียนเทียน ทำวัตรเย็น เจริญภาวนา ตลอดปี ทั้งเข้าพรรษาและออกพรรษา มิได้ขาด นอกจากนั้นเมื่อถึงเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี ได้จัดงานสืบสานประเพณียี่เป็ง มีการเทศน์ธรรมมหาชาติย่อ ๑๓ กัณฑ์ จบภายใน ๒ ชั่วโมง โดยได้นิมนต์พระนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงในด้านการเทศน์ มาเป็นองค์แสดงพระธรรมเทศนา แก่พุทธศาสนิกชน มีพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมฟังธรรมประมาณ ๙๐ ๑๕๐ คน
พระเจ้าตันใจ๋ ( หลวงพ่อทันใจ ) วัดเจ็ดลิน
        พระเจ้าตันใจ๋องค์นี้ สร้างขึ้นเมื่อวันศุกร์ ที่ ๓๐ พ.. ๒๕๔๖ หน้าตักกว้าง ๓๙ นิ้ว สูง ๑ เมตร  ๓๐ เซ็นติเมตร
โดยมี คุณพ่อเฉลิม คุณแม่สุคนธ์ อาจารย์ดร.ดารารัตน์ ทองขาว
อาจารย์สมชาย  อวเกียรติ พร้อมคณะสร้างถวาย
            สรุป จากข้อมูลเอกสารดังกล่าวข้างต้น วัดเจ็ดลินเป็นวัดที่มีอายุเก่าแก่วัดหนึ่งของเชียงใหม่ สร้างขึ้นอย่างน้อย ประมาณ ๔๗๐ ปีมาแล้ว เป็นวัดที่เคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสรงน้ำมูรธาภิเษกของกษัตริย์เชียงใหม่ ในบริเวณวัด มีพระเจดีย์ และพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ๑ องค์   หลังพระเจดีย์มีหนองน้ำขนาดใหญ่ซึ่งเป็นที่อาศัยอยู่ของสัตว์น้ำนานาชนิดๆ เช่นปลาดุกรัสเซีย นกอีล้ำ นกกวัก เต่า  ที่หาดูได้ยาก  ฉะนั้นวัดนี้ชาวบ้านจึงเรียกชื่อว่า } วัดหนองจลิน ~  ต่อมาเมื่อมี ๒๕๔๖  พระเทพวรสิทธาจารย์ รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ประธานฟื้นฟูวัดหนองจลิน จึงได้เปลี่ยนชื่อให้ถูกต้องตามในใบโฉนด ชื่อ } วัดเจ็ดลิน ~
************************