วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประวัติวัดเจ็ดลิน

ประวัติวัดเจ็ดลิน

.พระสิงห์เขต ๒ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

สถานที่ตั้ง

                ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๖๙/  วัดเจ็ดลิน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า } วัดหนองจลิน ~ ตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่ ค่อนไปทางด้านทิศใต้ประตูเชียงใหม่ บนถนนสายพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์   อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่
            สถานภาพ วัดเป็น วัดราษฏร์ สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย  สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม จึงประกาศยก วัด จลิน ขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุจำพรรษา และตั้งชื่อว่า }  วัดเจ็ดลิน  ~ เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฏาคม ๒๕๔๗
         
            ทิศตะวันออก               จรดที่ดินเลขที่  ๑๙   ถนนพระปกเกล้า
            ทิศตะวันตก                 จรดที่ดินเลขที่  ๑๖  ทางสาธารณประโยชน์
            ทิศเหนือ                       จรดที่ดินเลขที่  ๑๖ .....๑๗ .....๙๖ ทางสาธารณประโยชน์
            ทิศใต้                           จรดที่ดินเลขที่  ๑๙ ......๒๐ ......   ทางสาธารณประโยชน์
            หลักฐานทางโบราณคดี เจดีย์ ๑ องค์ และพระพุทธรูป ๑ องค์ ประดิษฐานในอาคารชั่วคราวมุงด้วยหลังคาสังกะสี
วัดเจ็ดลิน   มีเนื้อที่ประมาณ ๗ ไร่ ....... ๒ งาน ๑๑  วา  ตามในใบโฉนด
วัดเจ็ดลิน หรือหนองจลิน ไม่ปรากฏหลักฐานหรือตำนานเกี่ยวกับวัดนี้โดยตรง แต่พบชื่อและที่ตั้งของวัดนี้ในโคลงโบราณชื่อ โคลงนิราศหริภุญชัย  ซึ่งแต่งขึ้นในปี พ.. ๒๐๖๐ สมัยพญาเมืองแก้ว กษัตริย์เชียงใหม่ลำดับที่ ๑๑ ( .. ๒๐๓๘ ๒๐๖๘ )
เขียนถึงวัดเจ็ดลินดังนี้

                            เจ็ดลินลุแล้วเล่า           ศาลาเลิศเอ่

                                 คองคู่สานเสน่หา             แห่งนั้น
    วรลักษณ์เลิศรสา             สวรรค์เทพ ทิพเอ่
                               สาแผ่นดินใดดั้น              พี่ด้นหาอาวรณ์
                                                                                            ( จากโคลงนิราศหริภุญชัย หน้า ๒๒ – ๒๒ )
            จากโคลงนิราศหริภุญชัย สันนิษฐานว่า วัดเจ็ดลิน จะสร้างขึ้นก่อน พ.. ๒๐๖๐  อย่างน้อยสร้างขึ้นในสมัยพญาเมืองแก้ว ตอนปลายของราชวงศ์มังราย ประมาณ ๔๕๐ ปีมาแล้ว
สมัยพระเมกุฏวิสุทธิวงศ์  กษัตริย์ลำดับที่ ๑๗ ของราชวงศ์มังราย ปกครอง พ.. ๒๐๙๔ ๒๑๐๑ ก่อนขึ้นเสวยราชและเสด็จไปสรงน้ำมูรธาภิเษกที่วัดเจ็ดลิน ได้พบหลักฐานตำนานเชียงใหม่ เขียนว่า เมื่อพระเมกุฏวิสุทธิวงศ์ ทำพิธีราชาภิเษกขึ้นปกครองเมืองเชียงใหม่ พระองค์ได้เสด็จไปเปลี่ยนเครื่องทรงสีขาว ( นุ่งขาว ห่มขาว ) ที่วัดผ้าขาว แล้วพระองค์ได้เสด็จไปทำพิธีลอยเคราะห์ที่วัดหมื่นตูม จากนั้นเสด็จไปสรงน้ำมูรธาภิเษกที่วัดเจ็ดลินคำ หรือวัดเจ็ดลิน ดังมีข้อความในตำนานดังนี้
} ก็เชิญกษัตริย์เจ้าไปลอยเคราะห์ที่วัดหมื่นตูม นอนหั้นแลได้ ๓ วัน แล้วไปอุสสาราชหล่อน้ำพุทธาภิเษก สุคนธาด้วยสุวัณณหอยสังข์ที่ วัดเจ็ดลิน หั้นแล~
 ( ตำนานเชียงใหม่ หน้า ๑ )
จากข้อความในตำนานเชียงใหม่ดังกล่าวข้างต้น วัดเจ็ดลิน เรียกชื่อว่า วัดเจ็ดลินคำ เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ พระมหากษัตริย์จะเสด็จมาสรงน้ำมูรธาภิเษกที่วัดนี้  สันนิษฐานว่า วัดเจ็ดลินนี้ จงเป็นวัดที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ล้านนามาก และเชื่อว่าเป็นวัดที่กษัตริย์แห่งราชวงศ์เม็งรายเป็นผู้สร้าง เพราะมีเจตนาสร้างไว้ใช้ในราชพิธีราชาภิเษกโดยเฉพาะ ( วัดผ้าขาว วัดหมื่นตูม วัดเจ็ดลิน อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน สะดวกต่อการกระทำราชพิธี )       อีกอย่างหนึ่งชื่อของวัดจะบ่งบอกหน้าที่ของวัดได้
วัดเจ็ดลินเป็นวัดที่เคยใช้เป็นสถานที่สรงน้ำในพระราชพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์ล้านนา คือพระเมกุฏิวิสุทธิวงศ์ หรือท้าวแม่กุ
คำว่า ลิน เป็นภาษาของชาวล้านนา หมายถึง รางน้ำ  เจ็ดลินก็หมายถึงรางน้ำเจ็ดรางที่ใช้ในพิธีราชาภิเษก เพื่อให้ขุนนางประชาชนได้สรงน้ำกษัตริย์ เวียงเจ็ดลินที่ห้วยแก้ว  เมื่อ พ.. ๒๕๐๗  ได้ขุดพบว่าสร้างรางน้ำหรือลินที่ทำด้วยไม้สำหรับรับน้ำจากห้วยแก้วมาใช้ในเวียงถึง ๗ ราง เวียงนี้จึงเรียกว่า  เวียงเจ็ดลิน ( ปัจจุบันคือบริเวณสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลและฟาร์มโคนมห้วยแก้ว ) ปัจจุบันรางน้ำนั้นเก็บรักษาไว้ที่ห้องเครื่องถ้วยที่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ( จากคำบอกเล่าของ ดร. ฮันส์  เพนธ์ )
สมัยพม่าปกครอง พม่าปกครองเมืองเชียงใหม่ในฐานะเมืองขึ้น ๒๐๐ ปี ( .. ๒๑๐๑ ๒๓๑๗ ) ไม่ปรากฏหลักฐานว่า วัดเจ็ดลินมีสภาพเช่นไร สันนิษฐานว่าอาจจะไม่ร้างหรือร้างไปไม่อาจจะทราบได้ แต่เมื่อพระยากาวิละได้ทิ้งเมืองเชียงใหม่เป็นเป็นเมืองร้างไป ๒๐ ปี ระหว่าง พ.. ๒๓๑๘ ๒๓๓๘ วัดเจ็ดลินคงจะร้างไป จากหลักฐานที่หน่วยศิลปากรที่ ๔  ขุดหารากฐานของวิหาร เมื่อ วันที่ ๑๔ กันยายนศกนี้นั้น คุณสถาพร ขวัญยืน หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ ๔ ได้สัมภาษณ์ว่า ขุดพบเศียรพระพุทธรูป ลักษณะไม่มีมาลาซึ่งเป็นเศียรพระประธานของวัดนี้ตกอยู่บริเวณด้านหลังของพระประธาน สันนิษฐานว่าเมืองเชียงใหม่ร้าง วัดนี้คงจะร้างไป เศียรพระประธานคงจะชำรุดตกลงเพราะพระศอรับน้ำหนักไม่ไหวจึงตกลงมาด้านหลังของพระประธานต่อมาเมื่อชาวบ้านคงจะร่วมมือกันบูรณะและสร้างเศียรพระประธานขึ้นมาใหม่อย่างที่แลเห็นอยู่ในปัจจุบัน
( เฉพาะกิจภูธร, รายงานประชาชน, หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ ๖ ต.. ๒๕๓๒ หน้า ๒๑ )
และต่อมา   เมื่อปี ๒๕๔๙ พระเทพวรสิทธาจารย์ ได้มอบหมายให้พระมหาวิษณุ จารุธมโม เริ่มบูรณะพระประธาน เมื่อวันที่ ๑ กรกฏาคม ๒๕๔๙ พร้อมลงรักปิดทองเสร็จเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ ถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่สวยงามที่สุดองค์หนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ที่แลเห็นอยู่ในปัจจุบัน
สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕
พบข้อความจากเอกสารใบลานที่จารด้วยอักษรไทยวน เกี่ยวกับรายชื่อวัดในเชียงใหม่ พบรายชื่อวัดเจ็ดลินอีกครั้งหนึ่ง เขียนว่าวัดนี้ตั้งอยู่บริเวณประตูเชียงใหม่ มีพระอธิการชื่อ สิริไช ยังไม่ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ นิกายของวัด นิกายเชียงใหม่ รองอธิการไม่มี พระลูกวัดไม่มี แต่พรรษาที่แล้วมีพระภิกษุ ๑ องค์ และเณร ๒ องค์ วัดนี้ขึ้นกับวัดพันเตา
( รายชื่อวัดและนิกายสงฆ์โบราณในเชียงใหม่ หน้า ๖ )
จากหลักฐานใบลานกล่าวว่า วัดเจ็ดลิน ในปีที่เขียนรายชื่อวัดนี้ คือ พ.. ๒๔๔๐ วัดนี้เป็นวัดที่ยังมีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาอยู่  สันนิษฐานว่าจะมาร้างไปในภายหลัง ประมาณก่อน พ.. ๒๔๐๒  ซึ่งเป็นปีที่ทางราชการได้ออกโฉนดวัดเจ็ดลินเป็นที่ธรณีสงฆ์ วัดนี้จะต้องร้างไปก่อน พ.. ๒๔๘๒ อาจจะประมาณ พ.. ๒๔๗๕  ก็อาจเป็นไปได้ เพราะเป็นระยะเวลาที่บ้านเมืองตกอยู่ในสภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ ชาวบ้านราษฎรไม่สามารถอุดหนุนหรืออุปถัมภ์วัดในเชียงใหม่ได้ทุกวัด  พระภิกษุที่อยู่ในสมัยที่วัดในเชียงใหม่เริ่มร้าง  ได้เล่าว่าสาเหตุที่วัดต่างๆ จำนวนมากต้องร้างไป เพราะมีจำนวนวัดมากกว่าจำนวนศรัทธารวมทั้งจำนวนพระภิกษุสามเณรที่จะมาบวชน้อย ชาวบ้านจึงให้พระสงฆ์มาอยู่รวมกันแล้วปล่อยให้วัดร้างไป เช่น วัดจอกแก้ว ( กรมที่ดินเชียงใหม่ )    ร้างไปรวมกับวัดนางเหลียว ( โรงเรียนยุพราช  )วัดกิติ  ( โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ ) เป็นต้น
( สัมภาษณ์ ครูบาแก้ว  จนทวงโส  วัดดอกเอื้อง โดยผู้เขียน  )
หลักฐานทางด้านโบราณคดี  วัดเจ็ดลิน มีเจดีย์ใหญ่ ๑ องค์ และอาคารชั่วคราวมุงด้วยสังกะสีมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ๑ องค์
ลักษณะขององค์พระเจดีย์ เป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมผสมทรงกลม ประกอบด้วยฐานหน้ากระดาน ๓ ชั้น รองรับฐานบัวย่อเก็จแบบพิเศษ ที่ประกอบด้วยฐานบัวลูกแก้ว ๒ ฐานซ้อนอยู่ในฐานเดียวกัน ลักษณะฐานเช่นนี้ เป็นแบบแผนที่พบในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ลงมา เหนือขึ้นไปเป็นฐานหน้ากระดานย่อเก็จ ๓ ชั้น รองรับเรือนธาตุ ที่ซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง ๔ ทิศ  ( พระพุทธรูปในซุ้ม ๔ องค์นั้นไม่รู้ว่าใครเป็นผู้เก็บรักษาไว้ เหลือแต่ซุ้มเปล่า  ) ต่อมาเมื่อปี พ.. ๒๕๔๗ นายพรศิลป์ รัตนชูเดช หรืออาจารย์พรศิลป์ รัตนชูเดช  อาจารย์มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ วัดสวนดอก พร้อมคณะ ได้เป็นเจ้าภาพพระพุทธรูปหินผสมทรายนำมาจากจังหวัดพะเยา นำขึ้นไปบรรจุไว้ที่ซุ้มพระเจดีย์ทั้ง ๔ ด้าน  เหนือเรือนธาตุขึ้นไปเป็นมาลัยเถาขนาดใหญ่ชำรุด รองรับองค์ระฆังขนาดเล็ก ยอดชำรุด สันนิษฐานว่าเจดีย์องค์นี้ควรมีอายุ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ลงมา
 ( สุรพล ดำริห์กุล อธิบาย ในรายการวิจัย วัดร้างในเวียงเชียงใหม่ หน้า ๓๒ )
ลวดลายที่ตกแต่งองค์เจดีย์ มีลักษณะเหมือนลวดลายที่ตกแต่งซุ้มประตูและเจดีย์องค์ใหญ่ที่ใช้เป็นที่บรรจุพระอัฐิของพญาติโลกราช วัดเจ็ดยอด สันนิษฐานว่าจะได้รับอิทธิพลจากวัดเจ็ดยอด และวัดโลกโมฬี
( สัมภาษณ์ มารุต อมรานนท์ มหาวิทยาลัยนครินทรวิโรฒบางแสน ๒๕๒๘  โดย ผู้เขียน )
การฟื้นฟูวัดเจ็ดลิน ( วัดร้าง )
            เนื่องจากวัดเจ็ดลินเคยเจริญรุ่งเรืองมาในอดีต มีองค์พระเจดีย์ตั้งตระหง่านอยู่อย่างสง่างาม และมีหนองน้ำขนาดใหญ่และยังสมบูรณ์อยู่ คณะสงฆ์ ร่วมกับคณะศรัทธาและประชาชน มีเจตจำนงที่จะพัฒนาฟื้นฟูวัดประวัติศาสตร์ แห่งนี้ให้กลับคืนสู่สภาพเดิมที่เคยรุ่งเรืองมาแล้ว เพื่อจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาและพัฒนาหนองน้ำให้สะอาด เพื่อรักษาสถานที่ประวัติศาสตร์ไว้ให้แก่ลูกหลานในอนาคตได้ภาคภูมิใจ ดังนั้นคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ จึงมอบหมายให้       พระญาณสมโพธิ  ( ธงชัย สุวณณสิริ) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพฯ และเจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงใหม่  ครั้นต่อมาได้รับเลื่อนสมณศักดิ์   เป็นที่พระราชสิทธาจารย์    และขึ้นมาเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ และต่อมาได้รับเลื่อนสมณศักดิ์อีก   เป็นที่พระเทพวรสิทธาจารย์    ให้เป็นประธานพัฒนาฟื้นฟูวัดเจ็ดลิน       ตั้งแต่วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๖ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จฯ พระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในวโรกาศเจริญพระชนมายุครบ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา และพัฒนาหนองน้ำที่กว้างใหญ่เป็นหนองน้ำที่ใสสะอาด สวยงาม    ให้คงเป็นหนองน้ำแห่งประวัติศาสตร์    คู่เมืองเชียงใหม่ต่อไป   และในวันที่      กรกฎาคม      ๒๕๔๖ ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์  อาคารวิหารวัดเจ็ดลิน โดย พระครูสุภัทรสีลคุณ        ( ครูบาดวงดี ) ปัจจุบันคือ พระมงคลวิสุต วัดท่าจำปี ต. ทุ่งสะโตก อ. สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ เป็นผู้วางศิลาฤกษ์ พร้อมกับพระเทพวรสิทธาจารย์ มีประชาชนมาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก
ยกวัดเจ็ดลิน ( ร้าง ) ขึ้นเป็นวัดมีพระสงฆ์จำพรรษา
                สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ยกวัดเจ็ดลิน ( ร้าง ) ขึ้นมาเป็นวัดเจ็ดลินที่มีพระสงฆ์จำพรรษา เมื่อวันที่  ๒๘ กรกฎาคม พ.. ๒๕๔๗ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น